ช่วงหยุดอยู่บ้าน หรือทำงานที่บ้าน (Work from Home) ควรควบคุมพฤติกรรมตนเอง เลือกกินอาหารที่มีประโยชน์ และไม่เกินความต้องการของร่างกาย ลุกขึ้นขยับเปลี่ยนท่าทาง ออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อยวันละ 30 นาที และไม่อั้นการขับถ่าย เพื่อให้ร่างกายมีสุขภาพที่ดีระหว่างที่ต้องเก็บตัวอยู่บ้าน ที่มากกว่านั้น เพื่อป้องกันให้ห่างไกลโรคเหล่านี้
1. ปวดคอ การมองหน้าจอคอมพิวเตอร์สามารถเพิ่มความตึงเครียดให้กระดูกสันหลัง การยกศีรษะทำมุม 30 องศา จำเป็นต้องใช้กล้ามเนื้อมากกว่าตอนยกศีรษะให้ตั้งตรง 3 – 4 เท่า
วิธีแก้ไข: จัดตำแหน่งคอมพิวเตอร์ให้กึ่งกลางของหน้าจออยู่ในระดับเดียวกับคาง หรือยกคอมพิวเตอร์ให้สูงขึ้น เพื่อให้มันอยู่ในตำแหน่งที่คุณไม่ต้องก้มดูหน้าจอ
2. ไม่มีสมาธิ การนั่งนาน ๆ จะไปขัดขวางการไหลเวียนของเลือด และทำให้สมองได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ ส่งผลให้สมองตื้อ และไม่สามารถจดจ่อกับสิ่งต่าง ๆ ได้
วิธีแก้ไข: ลุกไปเดิน หรือเคลื่อนไหวร่างกายทุกชั่วโมง ออกไปเดินเล่นหน้าบ้านสัก 10 นาที แล้วค่อยมานั่งทำงานต่อ
3. ภาวะซึมเศร้า มีงานวิจัยจาก American Journal of Preventative Medicine ระบุว่า ผู้หญิงวัยกลางคนที่นั่งมากกว่า 7 ชั่วโมงต่อวัน มีแนวโน้มที่จะตกอยู่ในภาวะซึมเศร้ามากกว่าคนที่นั่งนานไม่ถึง 4 ชั่วโมง
วิธีแก้ไข: ลุกออกไปชมนกชมไม้ หรือเดินเล่น เพื่อละลายความเครียด หรืออารมณ์เชิงลบในขณะนั้น
4. อินซูลินมีปัญหา เพียงแค่คุณใช้ชีวิตแบบนั่ง ๆ นอน ๆ เพียงวันเดียว สามารถทำให้กิจกรรมของอินซูลินลดลง ร่างกายไม่ได้ใช้อินซูลินอย่างเหมาะสม มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานประเภท 2 มากขึ้น
วิธีแก้ไข: หาน้ำดื่มไว้ใกล้ ๆ ตัว และพยายามดื่มอย่างต่ำวันละ 8 แก้ว เพื่อไม่ให้ร่างกายขาดน้ำ ป้องกันไม่ให้ระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น จนทำให้ร่างกายสูญเสียความสามารถในการใช้อินซูลินได้อย่างเหมาะสม
5. ปวดหลังช่วงล่าง การนั่งนาน ๆ สามารถทำให้เกิดอาการปวดเล็กน้อยในช่วงแรก แต่สุดท้ายแล้วอาการจะยิ่งแย่จนถึงขั้นที่ทำให้คุณปวดและเจ็บหลัง ท่านั่งที่ไม่ดีสามารถทำให้เกิดปัญหากับกระดูกสันหลังได้
วิธีแก้ไข: จัดท่าทางนั่งให้เหมาะสม อาจเลือกใช้คีย์บอร์ดที่แยกออกมาจากแล็ปท็อป จัดคีย์บอร์ดให้อยู่ในตำแหน่งที่ข้อศอกงออยู่ใกล้ลำตัวและข้อมือยืดออกได้เล็กน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้คุณต้องก้มหลัง
6. ปวดขา เมื่อเราไม่ได้เหยียดขาหรือเคลื่อนไหว มันก็จะทำให้คุณเริ่มปวดกล้ามเนื้อ และหากคุณละเลยปัญหานี้ อาการปวดก็จะยิ่งแย่ลง
วิธีแก้ไข: วางเก้าอี้ใหม่เพื่อให้ขาของคุณอยู่ในตำแหน่งที่ทำให้รู้สึกสบาย ในขณะนั่ง ให้คุณวางฝ่าเท้าราบไปกับพื้น และปรับเก้าอี้ให้สูง เพื่อให้หัวเข่าสูงกว่าสะโพกเล็กน้อย
7. ไขมันสะสมมากขึ้น การมีไลฟ์สไตล์ที่ไม่ค่อยได้เคลื่อนไหวร่างกาย มีส่วนให้กิจกรรมการเผาผลาญไขมันลดลง มีภาวะไขมันสะสมอยู่ตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย และยังเพิ่มความเสี่ยงทำให้เกิดโรคต่าง ๆ โดยเฉพาะโรคอ้วนลงพุง
วิธีแก้ไข: ลุกขึ้นยืน หรือเปลี่ยนท่านั่งทุก 15 นาที และใช้เวลา 5 วินาที เคลื่อนอวัยวะ 1 ส่วน หรือมากกว่านี้ โดยอาจหมุนข้อศอก มองเพดาน พิงเก้าอี้ ขยับนิ้ว ฯลฯ
8. กระดูกอ่อนแอ การนั่งอยู่กับที่สามารถทำให้กระดูกเสื่อมสภาพและทำให้แร่ธาตุในกระดูกลดลง
วิธีแก้ไข: คุณสามารถเสริมความแข็งแรงให้กระดูกโดยกินอาหารที่มีแคลเซียมสูง เช่น นม ผักโขม อาหารที่มีวิตามินดีอย่างไข่และปลาทูน่า เพื่อช่วยให้ร่างกายดูดซึมแคลเซียมได้ดีขึ้น
Photo:pexels.com
1,008 total views, 3 views today